วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

กฏหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
           ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารการจ้างนั้น นายจ้างหรือผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินนโยบายการว่าจ้างหรือจ้างแรงงาน โดยต้องคำนึงถึงการคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานนั้นๆด้วยและอีกทั้งต้องทำสัญญาว่าจ้างแรงงานถ้าเลือกบุคคลได้เหมาะสมได้แล้ว เพื่อนให้การว่าจ้างเป็นไปตามหลักเกณฑ์และตามวัตถุประสงค์ แล้วนอกจากนั้นนายจ้างต้องตอบแทนค่าตอบแทนลูกจ้างด้วย และเพื่อให้ลูกจ้างทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



              การว่าจ้างหรือจ้างแรงงาน
              การจ้างแรงงานหรือที่เรียกกันว่า การจ้างงานนั้นมักจะเกิดขึ้นได้เมื่อนายจ้างหรือผู้ประกอบการนั้นมีอำนาจในการว่าจ้าง ได้มีการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมสำหรับงานในแต่ละตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้การดำเนินการจ้างเป็นไปด้วยดี ก็มักจะมีการทำสัญญาการจ้างแรงงานนั้นด้วยและควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ดีกฎหมายไม่ได้บังคบให้ต้องทำเป็นสัญญาเป็นหนังสือ หรือไม่ได้กำหนดแบบสัญญาจ้างแรงงานโดยทั่วไปไว้ดังนั้นการทำสัญญาจ้างแรงงานจึงอาจกระทำด้วยวาจาได้ และมีผลบังคับใช้ในกฎหมาย รวมตลอดถึงการมีสิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับคดีตามสิทธิของคู่สัญญาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายหรือตามสัญญาได้ แม้จะไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นหนังสือ



        การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
         นายจ้างหรือผู้ประกอบการหรือผู้บริหารที่ได้รับมอบอำนาจจากนายจ้างมีสิทธิหรือโอกาสเต็มที่ในการที่จะคัดเลือกบุคคลหรือเลือกจ้างบุคคลใดเข้าทำงานอย่างไรก็ได้ ตามความเหมาะสมกับงานนั้นๆหรือตามความพอใจของนายจ้าง แต่ก็ต้องคำนึงถึงข้อบัญญัติหรือข้อกำหนดของกฎหมายแรงงานและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ข้อพิจารณาของนายจ้างหรือผู้บริหารการจ้างในคัดเลือกและรับบุคคลเข้าทำงานมีดังต่อไปนี้


      อายุของบุคคลที่จะจ้าง
          ถ้านายจ้างหรือผู้บริหารจะจ้างบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างของสถานที่ประกอบกิจการ นายจ้างจะต้องคำนึงถึงลักษณะของงานและสถานที่ที่จะให้ลูกจ้างทำงานด้วย ต้องห้ามตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ หรือจะต้องขออนุญาตต่อพนักงานหรือเจ้าหน้าที่และได้รับอนุญาตหรือไม่
      เพศของบุคคลที่จะจ้าง
   ถ้านายจ้างจะจ้างผู้หญิงทำงาน ก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องอายุของผู้หญิงนั้น ลักษณะงานต้องห้ามบางอย่างและสถานที่ต้องห้ามตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วย


      สัญชาติของบุคคลที่จะจ้าง
   สำหรับการจ้างคนต่างด้าวมาทำงาน นายจ้างจะต้องคำนึงถึงและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวด้วย  อันได้แก่  พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521  พระราชกฤษฎีกากำหนดการงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ และพระราชกฤษฎีกากำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจบางประการในราชอาณาจักร ไม่ต้ออยู่ภายใต้บังคับ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521  พ.ศ. 2522 รวมทั้งประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว  ซึ่งตามหลักทั่วไปกฎหมายห้ามจ้างคนต่างด้าวทำเพื่อเป็นการค้าหรือหารายได้โดยเด็ดขาดเพราะว่าไม่มีกฎหมายใดสนับสนุน
การค้ามนุษย์



      จำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
    นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันในสถานประกอบกิจการจำนวน ตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องปฏิบัติตามอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 อย่างตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ดังต่อไปนี้
(1)        รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ให้ทำงานด้วยในอัตราส่วนระหว่างลูกจ้างทั่วไปกับคนพิการ เท่ากับ 200:1 โดยเศษของจำนวนลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องรับคนพิการ เพิ่ม 1 คน หรือ
(2)        ส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเป็นรายปีๆละครึ่งหนึ่งของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้บังคับสำหรับท้องที่ที่สถานประกอบกิจการของนายจ้างตั้งอยู่ คูณด้วย 365 ต่อคนพิการที่จะต้องรับเข้าทำงาน 1 คน





อ้างอิงจาก

-http://hilight.kapook.com/view/79000.บทความ กฏหมายน่ารู้สำหรับคนทำงาน

-ดร. วิจิตรา(ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม.กฏหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2540.